โคล้านครอบครัว “อนุชา” นำคณะดูงานฟาร์มโคญี่ปุ่น เพื่อเตรียมนำองค์ความรู้เสริมทัพงานกองทุนหมู่บ้านฯ ดันโคต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ พันธุ์ไทย สู่การส่งออก สร้างรายได้ให้ท้องถิ่น เป็นโครงการที่ครม. อนุมัติสินเชื่อ “โคล้านครอบครัว” สำหรับคนที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้
โคล้านครอบครัว “อนุชา” นำคณะดูงานฟาร์มโคญี่ปุ่น
โคล้านครอบครัว – นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะกรรมการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ โดยมี นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายสืบศิษฏ์ ศานติศาสน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นายฮิเดอากิ อิชิ ผู้จัดการสาขามิโตะ ธนาคาร MUFG และนายนาโอโตะ ลิมูระ รองประธานที่ปรึกษาด้านการเงินและกลยุทธ์องค์กร ธนาคาร MUFG ร่วมเดินทางไปยังเมืองฮิตาชิโอมิยะ จังหวัดอิบาระกิ เยี่ยมชมการดำเนินงานของ Mizuho Farm (มิซุโฮะ ฟาร์ม) ซึ่งเป็นฟาร์มโคเนื้อขนาดใหญ่ อันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น โดยมี นายอิจิโระ ชิโมยามะ เจ้าของฟาร์มให้การต้อนรับและบรรยายความเป็นมาและความสำคัญของฟาร์มให้แก่คณะผู้เยี่ยมชม เพื่อเป็นแนวทางผลักดันโครงการโคล้านครอบครัว
โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
นายอนุชา กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำให้รัฐบาลส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน มุ่งสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้การสนับสุนนเงินทุนให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านผ่านโครงการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ อย่างเช่น โครงการโคล้านครอบครัว ซึ่งสอดคล้องกับการเดินทางมาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับทางมิซูโฮะฟาร์มในวันนี้ โดยโครงการโคล้านครอบครัวที่รัฐบาลส่งเสริม เป็นการสนับสนุนภาคการเกษตรที่ต้องการให้ประชาชนหันมาเลี้ยงโคต้นน้ำเป็นอาชีพ ซึ่งค้นพบว่าการเลี้ยงโคสามารถสร้างรายได้ให้ประชาชนอย่างยั่งยืน รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนตั้งต้นและให้คำปรึกษา
“การดูงานในวันนี้ทำให้ได้เห็นแนวทางการพัฒนาพันธุ์โคจากโคต้นน้ำสู่โคกลางน้ำจนถึงการเลี้ยงโคปลายน้ำที่มุ่งเน้นการส่งออกและสร้างมูลค่า อีกทั้งยังได้ความรู้ในการเตรียมการสู่การนำผลผลิตจากโคออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งนี้ ตนได้สั่งการและกำชับให้ สทบ. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพการดำเนินงาน พร้อมติดตามความคืบหน้าของโครงการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว” นายอนุชา ระบุ
ครม. อนุมัติสินเชื่อ “โคล้านครอบครัว“
ครม. อนุมัติสินเชื่อ “โคล้านครอบครัว” วงเงิน 5,000 ล้านบาท ส่งเสริมอาชีพ แก้ความยากจน
ที่ประชุม ครม. (14 มี.ค. 66) เห็นชอบหลักการโครงการโคล้านครอบครัว วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 79,610 กองทุน
เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถกู้ยืมเงินทุนสำหรับเลี้ยงโค กู้ยืมครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท จำนวน 100,000 ครัวเรือน (เลี้ยงโค ครัวเรือนละ 2 ตัว รวม 200,000 ตัว)
ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 4 ปี โดยประชาชนไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคาร ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. ในอัตราคงที่ 4% ต่อปี
ทั้งนี้ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องชำระคืนเงินต้นให้กองทุนหมู่บ้านฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี โดยในปีที่ 3 ให้ชำระคืนเงินต้น 50% ของวงเงินที่กู้ยืม และชำระคืนเงินต้นที่เหลือในปีที่ 4
ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้ จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ครัวเรือนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ลดภาระค่าครองชีพให้กับครัวเรือน และจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก สร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากในระดับหมู่บ้านและชุมชน ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
รมต. อนุชา ชูโครงการโคล้านครอบครัวมีส่วนผลักดันโคไทย คุณภาพดีสู่ตลาดโลก
วันนี้ (7 พฤษภาคม 2566 ) ณ กองทุนหมู่บ้านดอนพะธาย หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เป็นประธานเปิดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ภายใต้โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
นายอนุชา กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยพี่น้องประชาชน เน้นย้ำให้กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้และกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะพี่น้องที่ประกอบอาชีพเกษตรกร-ปศุสัตว์ ในภาคอีสาน ถือว่าโชคดีมาก เพราะเป็นภูมิภาคที่มีจุดแข็งที่สำคัญคือ ได้รับผลประโยชน์จากรถไฟจีน – ลาว ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งเศรษฐกิจไทยในภาพรวมและเศรษฐกิจภูมิภาคทั้งในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการขนส่ง ที่สำคัญภาคอีสานมี 4 กลุ่มสินค้า ที่มีศักยภาพในการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มอาหารแปรรูป กลุ่มปศุสัตว์แปรรูป กลุ่มสินค้าของที่ระลึก และ กลุ่มผลไม้สด เป็นต้น
ในส่วนรัฐบาลไทย ได้ส่งเสริมสนับสนุน ทั้งในด้านการเงิน และองค์ความรู้ ให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ ในการเลี้ยงวัว ผ่านโครงการ“โคล้านครอบครัว” แถมยังมีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงโค มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนะนำวิธีการเลี้ยงให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ ที่สนใจ นี่จึงเป็นโอกาสดีที่ไทยจะสามารถส่งออกเนื้อโคได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจากแนวโน้ม ปี 2561 – 2565 ราคาส่งออกโคมีชีวิต มีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 4.74 ต่อปี ซึ่งแนวโน้ม ปี 2566 นี้ คาดว่าการส่งออกโคมีชีวิต เนื้อโคและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 เนื่องจากมีความต้องการโคมีชีวิตจากประเทศเวียดนามและจีนเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย
ทางด้าน ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพันธุ์โคขุนนครพนม เผยว่า โอกาสโคเนื้อไทย-ส่งออกจีนยังมีช่องว่างอีกมาก เพราะความต้องการบริโภคเนื้อโคมีสูง จีนมีเป้าหมายให้นำเข้าโคมีชีวิต 500,000 ตัว/ปี แต่มีข้อจำกัดในการนำเข้า คือ ต้องเป็นวัวสายพันธุ์ลูกผสมพื้นเมือง แองกัส, ชาร์โรเล่ส์ บราห์มัน ซิมเมนทอล แบรงกัส หรือพันธุ์พื้นเมืองของไทย ลาว อินเดีย และเป็นโคที่มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 350-400 กิโลกรัม วัวต้องมีความแข็งแรง เนื้อเต็ม กล้ามเนื้อแน่น แผ่นหลังมีเนื้อเต็ม ผิวลื่นสวย ไม่มีแผลลึก และต้องปลอดโรค FMD และโรคติดต่ออื่นๆ
สำหรับโคเนื้อแบรงกัส ของ ม.นครพนม มาจากลูกผสม 2 สายพันธุ์คือ วัวอเมริกัน บราห์มัน มีเลือด 37.5% และมีเลือดอีกพันธุ์คือ แองกัส 62.5% วัวลูกผสมมีไซส์ขนาดกลาง วัวอายุ 16 เดือน พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว ซึ่งวัว 2 สายพันธุ์นี้ เป็นวัวลูกผสมที่มีสภาวะทนต่อสภาพอากาศคล้ายๆ บ้านเรา
ม.นครพนม ตั้งเป้าไว้ว่า ภายใน 3 ปี จะขยายแบรงกัส เป็น 1,000 แม่ นอกจากนี้มีความตั้งใจจะพัฒนาโคเนื้อให้เป็นเกรดพรีเมี่ยม ซึ่งเนื้อมีหลายระดับ ถ้าจะพัฒนาให้เท่าญี่ปุ่นเนื้อ A5 นั้นคือพรีเมี่ยม แต่ตลาดเนื้อพรีเมี่ยมจะมีจำนวนจำกัด ตรงกันข้ามกับ เนื้อ A2 A3 ซึ่งเป็นเนื้อเกรดรองลงมา ถือเป็นตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพสูง เนื้อนุ่น เนื้อเกรด A2 A3 เป็นตลาดที่ใหญ่กว่า
วันนี้คนไทยบริโภคเนื้อวัว ประมาณ 3 กก. ต่อคน/ปี แต่คนจีนบริโภค 10 กก. ต่อคน/ปี เป้าหมายแรก คือ ส่งออกเนื้อโค แต่เป้าหมายที่ขาดไม่ได้เลย คือสนับสนุนให้คนไทยบริโภคเนื้อเพิ่มมากขึ้น และเป้าหมายสูงสุด คือตอนนี้ที่ ม.นครพนม จะเป็นแหล่งที่ผลิตพันธุ์วัว นอกจากพันธุ์แบรงกัสที่ได้มาแล้ว เราจะนำมาผสมกับพันธุ์แบล็ก-วากิว ซึ่งเป็นวัวขนาดกลาง ไซส์ประมาณ ตัวเมียมีน้ำหนัก 450 กก. ตัวผู้มีน้ำหนัก 600-650 กก. ซึ่งเหมาะกับเกษตรกร ที่จะนำไปเลี้ยงเพื่อสร้างอาชีพต่อไป
วิธีเข้าร่วมโครงการ “โคล้านครอบครัว” 2566
เปิดวิธีการเข้าร่วมโครงการ “โคล้านครอบครัว” 2566 ของกองทุนหมู่บ้าน หลัง ครม. ไฟเขียว วงเงิน 5,000 ล้านบาท
“โคล้านครอบครัว” โครงการใหม่ดำเนินการโดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ล่าสุดได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้ครัวเรือนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ ระบุว่า เตรียมลงพื้นที่เปิดโครงการฯ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มุ่งหวังให้โครงการโคล้านครอบครัวเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ อย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งมีแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการกู้ยืมเพื่อการลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ บรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่เป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สถานการณ์อุทกภัย และเสริมสภาพคล่องให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ผ่านการสนับสนุนการทำปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค
รายละเอียดโครงการ “โคล้านครอบครัว”
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านฯ มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถกู้ยืมเงินทุนสำหรับเลี้ยงโค โดยประชาชนไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ทางธนาคาร ทางรัฐจะชดเชยดอกเบี้ยธนาคารให้ตลอดระยะเวลา 4 ปีเต็ม ในอัตราคงที่ 4%
กลุ่มเป้าหมาย
- กองทุนหมู่บ้านฯ จำนวน 79,610 กองทุน
วงเงินโครงการ
- วงเงินสินเชื่อ จำนวน 5,000 ล้านบาท โดยใช้วงเงินสินเชื่อของ ธ.ก.ส. 100% ให้สมาชิกกู้ยืมครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท 100,000 ครัวเรือน (เลี้ยงโค ครัวเรือนละ 2 ตัว รวม 200,000 ตัว)
ระยะเวลากู้
- ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 4 ปี นับจากวันลงนามในนิติกรรมสัญญา
อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บ
- ธ.ก.ส. ให้สินเชื่อกับกองทุนหมู่บ้านฯ อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี โดยกองทุนหมู่บ้านฯ ชำระคืนเงินกู้ให้สถาบันการเงินให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี
- กองทุนหมู่บ้านฯ ชำระคืนเงินต้นปีที่ 3 ร้อยละ 50 ของวงเงินที่กู้ยืม และชำระคืนเงินต้นที่เหลือในปีที่ 4 ซึ่งกองทุนหมู่บ้านฯ สามารถชำระคืน เงินต้นก่อนกำหนดได้
เงื่อนไขการให้สินเชื่อแก่สมาชิก
- กองทุนหมู่บ้านฯให้สินเชื่อกับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี
- สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ชำระคืนเงินต้นให้กองทุนหมู่บ้านฯ ให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา 4 ปี ในปีที่ 3 ให้ชำระคืนเงินต้น 50% ของวงเงินที่กู้ยืม และชำระคืนเงินต้นที่เหลือ ในปีที่ 4 สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ สามารถชำระคืนเงินต้นก่อนกำหนดได้
- กองทุนหมู่บ้านฯสามารถกำหนดค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากสมาชิกที่กู้ยืมได้ตามที่กองทุนหมู่บ้านฯ กำหนด
วิธีการดำเนินการ
- กองทุนหมู่บ้านฯต้องนำหลักฐานการขอสินเชื่อจากสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ เพื่อประกอบการเบิกเงินกู้จาก ธ.ก.ส.
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
- กองทุนหมู่บ้านฯ ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมสัญญากับสถาบันการเงินให้แล้ว เสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงกำหนดก่อน
ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ตำรวจทางหลวง ฉวยโอกาสตั้งกล้องจับความเร็วรถวิ่งลงเนิน
- การละเล่นผีตาโขน คนนับแสนร่วมงานประเพณีปี 2566 ที่ จ.เลย
- ค้าประเวณี รวบแม่เล้าหลอกเด็ก 15 รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา
- จุรินทร์ นัดถก ส.ส. ประชาธิปัตย์ 2 ก.ค. นี้
ที่มาของบทความ
- https://www.thaipost.net
- https://www.thansettakij.com
- https://www.thaigov.go.th
- https://thainews.prd.go.th
- https://www.matichon.co.th
- https://mgronline.com
ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่ conveyor-belts-belting.com
สนับสนุนโดย ufabet369